เป้าหมาย(Understanding Goals) :

ความรู้: เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการจัดการชุดข้อมูลต่างๆและมีวิธีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

ทักษะ: การแสวงข้อมูล / การคิด/จัดการข้อมูล / การนำเสนอ

คุณลักษณะ: มีเป้าหมายในการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจ / เอื้อเฟื้อข้อมูล

Main

Mind Mapping (เนื้อหา/ครู)

คำถามหลัก (Big Question)
            การจัดการชุดความรู้มีความสำคัญและจำเป็นอย่างไร 

ภูมิหลังของปัญหา
ในยุคปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ข้อมูลข่าวสาร หลายคนสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย สะดวกและรวดเร็ว มีหลากหลายช่องทางมากกว่าในอดีต แต่ข้อมูลที่หลากหลายนั้นก็แฝงมาด้วยข้อมูลที่จริงและเท็จอีกด้วย การมีวิจารณญาณของผู้รับสารและผู้ส่งสาร แหล่งที่มา ความถูกต้องของเนื้อหา ซึ่งเราไม่สามารถเชื่อถือได้เต็ม 100% เป็นเพราะข้อมูลต่างๆ นั้น ทุกคนสามารถเข้าถึงได้และสามารถคัดลอกข้อมูลต่างๆ กันได้  ความรู้ที่หลากหลายแขนงก็เช่นกัน ทุกคนสามารถเก็บเกี่ยวแต่ละชุดความรู้มาสร้างความเข้าใจเองได้ง่ายจากช่องทางต่างๆ ที่เข้าถึงได้ง่าย เช่น ผ่านสื่อออนไลน์ หนังสือ ฯลฯ แต่ข้อมูลที่หลากหลายนั้น หากขาดการจัดการชุดความรู้แล้วนั้น ก็อาจจะเป็นเพียงตัวความรู้ที่เป็นเพียงก้อนๆ ขาดการเชื่อมโยงเนื้อหาสาระรวมกัน เพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้
   ดังนั้นการจัดการชุดความรู้นั้นจึงเป็นเรื่องที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่ครูจะนำมาสอนพี่ๆ ม.3 ในภาคเรียนนี้ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมของผู้เรียน ก่อนออกไปเผชิญสู่โลกที่กว้างขึ้น เผชิญกับปัญหาที่ซักซ้อนขึ้น พวกเขาจะได้ใช้ทักษะการจัดการข้อมูลมาใช้ในการแก้ปัญหาได้ในสถานการณ์ต่างๆ 

ปฏิทินการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (PBL) หน่วย "การจัดการชุดความรู้"


ปฏิทินการเรียนรู้บูรณาการ PBL (Problem Based Learning)
หน่วย : “การจัดการชุดความรู้ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่3 Quarter3 ภาคเรียนที่2 ปีการศึกษา 2558

Week
Input
Process
Output
Outcome
1


โจทย์ : สร้างฉันทะ/แรงบันดาลใจ/วางแผนกิจกรรมการเรียนรู้
Key Questions :
- จากภาพยนตร์ที่ได้ดูนักเรียนเห็นอะไร/รู้สึกอย่างไรแล้วถ้าเป็นตัวนักเรียนจะรู้สึกอย่างไร?
- นักเรียนอยากเรียนรู้อะไรในQuarterนี้?
- นักเรียนจะตั้งชื่อหน่วยนี้ว่าอะไร เพราะเหตุใด?
สิ่งที่นักเรียนรู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้ใน Quarter นี้มีอะไรบ้าง?
- นักเรียนจะออกแบบ/วางแผน การเรียนรู้ตลอด 10 สัปดาห์อย่างไรให้น่าสนใจและเกิดการเรียนรู้?

เครื่องมือคิด :
Round Robin: 
Show and Share:
Blackboard Share:
 ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ภาพยนตร์เรื่องมนุษย์เงินเดือน
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
- ครูให้นักเรียนภาพยนตร์เรื่อง “มนุษย์เงินเดือน”
- นักเรียนแบ่งกลุ่มวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากภาพยนตร์เรื่อง”มนุษย์เงินเดือน”
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- นักเรียนร่วมกันตั้งชื่อหน่วย
- นักเรียนทำสิ่งที่รู้แล้ว/อยากเรียนรู้
- นักเรียนร่วมกันออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ตลอดทั้ง 10สัปดาห์
- นักเรียนสรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนหน่วยการจัดการชุดความรู้
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- การร่วมกันระดมความคิดตั้งชื่อหน่วย
- การเขียนสิ่งที่รู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้
- การร่วมกันออกแบบปฏิทินการเรียนรู้ตลอดทั้ง10สัปดาห์
- การแลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ชิ้นงาน
- สิ่งที่รู้แล้ว/สิ่งที่อยากเรียนรู้
- ปฏิทินการเรียนรู้ตลอดทั้ง10สัปดาห์
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้ก่อนเรียนหน่วยการจัดการชุดความรู้
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ความรู้
เข้าใจกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน สามารถอธิบายและให้เหตุผลในสิ่งที่อยากเรียนรู้ได้พร้อมทั้งมีการวางแผนการทำงานอย่างเป็นขั้นตอนรวมทั้ง สามารถออกแบบวางแผน กระบวนการเรียนรู้ตลอด10สัปดาห์ได้
ทักษะ:
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะชีวิต
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 

Week
Input
Process
Output
Outcome
2

โจทย์ : ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
Key Questions :
- ทำไมเราต้องมีศาสนา?
- หากเราไม่นับถือศาสนาเลย จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?
- เป้าหมายของแต่ละศาสนาเหมือนหรือต่างกันอย่างไรและแต่ละศาสนาถูกเริ่มต้นโดยใครอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
Round Robin: 
Show and Share:
Blackboard Share:
 ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ภาพยนตร์เรื่อง“พระพุทธเจ้า”
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
- ครูให้นักเรียนดูภาพยนตร์เรื่อง“พระพุทธเจ้า”          
              

 http://www.likeseries.com/buddha-series
- นักเรียนแบ่งกลุ่มเพื่อศึกษาค้นคว้าจากคำถาม
-          ทำอย่างไรจึงจะเรียกว่าเป็นศาสนิกชนที่ดี?
-          ศาสนาที่ตนนับถือมีความเหมือนหรือแตกต่างจากศาสนาอื่นๆอย่างไร?
-          ศาสนาสำคัญๆ ในโลกเกี่ยวข้องและสัมพันธ์กับชีวิตมนุษย์อย่างไร?
-          -ทำไมเราต้องมีศาสนา? หากเราไม่นับถือศาสนาเลย จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง?
-          เป้าหมายของแต่ละศาสนาเหมือนหรือต่างกันอย่างไรและแต่ละศาสนาถูกเริ่มต้นโดยใครอย่างไร?
- นักเรียนสร้างชิ้นงานที่หลากหลายเพื่อสรุปความเข้าใจในรูปแบบของตนเองพร้อมทั้งนำเสนอ
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- การแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นจาการดูภาพยนตร์
- การวิเคราะห์คำถามเพื่อเป็นแนวทางในการสืบค้นข้อมูล
- การจัดกระทำชิ้นงานที่แสดงความเข้าใจของตนเอง
- การแลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ชิ้นงาน
- ชิ้นงานที่หลากหลายแสดงความเข้าใจของตนเอง เช่น Mind Mapping,Flow Chart, การ์ตูนช่องฯลฯ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
 รู้ และเข้าใจประวัติ ความสำคัญ ศาสดา หลักธรรมของพระพุทธศาสนาหรือศาสนาที่ตนนับถือและศาสนาอื่น มีศรัทธาที่ถูกต้อง พร้อมทั้งเคารพในความต่างอย่างไม่โน้มเอียง
ทักษะ:
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะชีวิต
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 

Week
Input
Process
Output
Outcome
3


โจทย์ : หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม
Key Questions :
- ทำอย่างไร เราจึงจะสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และสังคมโลกอย่างสันติสุข
- การปฏิบัติตัวให้เป็นพลเมืองที่ดีในการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันเป็นอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
Round Robin:
Plate mat:
Show and Share:
Wall Thinking:
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู 
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คลิป VDO “สามัคคีคือพลัง”
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ


- ครูให้นักเรียนดูคลิป VDO “สามัคคีคือพลัง”

- นักเรียนอภิปรายร่วมกันจากคลิป VDO ที่ได้ดู
- นักเรียนแบ่งกลุ่มวิเคราะห์คำว่า หน้าที่พลเมือง ผ่านเครื่องมือคิด Plate mat
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
      -  การเป็นพลเมืองที่ดีต้องทำอย่างไร?
     -   ทำอย่างไร เราจึงจะสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และสังคมโลกอย่างสันติสุข
     -   พลเมืองที่ดีมีหน้าที่อย่างไรต่อตนเองและรัฐ
     -  การปฏิบัติตนตามหน้าที่พลเมืองที่ดีจะส่งผลอย่างไรบ้าง
      - ปัจจัยสำคัญที่มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุขคือปัจจัยใด?
     -  การปฏิบัติตัวให้เป็นพลเมืองที่ดีในการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันเป็นอย่างไร?
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- นักเรียนจัดทำโครงการ “สิทธิและหน้าที่ของเรา”
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- การแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นจาการดูคลิป VDO
- การอภิปรายร่วมกันจากคำถาม
- การจัดกระทำชิ้นงานที่แสดงความเข้าใจของตนเอง
- การแลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ชิ้นงาน
- โครงการ “สิทธิและหน้าที่ของเรา”
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย  ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยได้อย่างมีวิจารณญาณ
ทักษะ:
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะชีวิต
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 


Week
Input
Process
Output
Outcome
4


โจทย์ : หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม
Key Questions :
- การปฏิบัติตนตามหน้าที่พลเมืองที่ดีจะส่งผลอย่างไร?
-ปัจจัยสำคัญที่มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุขคือปัจจัยใด?
เครื่องมือคิด :
Round Robin:
Show and Share:
Wall Thinking:
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คลิป VDO “พลเมืองธิปไตย”
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
- นักเรียนนำเสนอโครงการ “สิทธิและหน้าที่ของเรา”
- ครูให้นักเรียนดูคลิป VDO “พลเมืองธิปไตย”
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันจากคลิปที่ได้ดู
- นักเรียนแบ่งกลุ่มศึกษาค้นคว้าจากคำถามต่อไปนี้
     -   ระบบการเมืองการปกครองของไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไร?
     - ระบอบ การปกครองของไทยกับประเทศอื่นๆเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร?
     -  แต่ละประเทศในโลกมีระบบการเมืองการครองอย่างไร ซึ่งส่งผลดี ผลเสียต่อประเทศนั้นอย่างไร?
     -   ระบบการเมืองการปกครองของแต่ละประเทศเหมือนหรือต่างกันอย่างไร และการปกครองแต่ละประเภทเป็นอย่าไงไร?
- นักเรียนทำการ์ตูนช่องนำเสนอความเข้าใจ
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- การแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นจาการดูคลิป VDO
- การอภิปรายร่วมกันจากคำถาม
- การทำการ์ตูนช่องนำเสนอความเข้าใจ
- การแลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ชิ้นงาน
- การ์ตูนช่อง
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจระบบการเมืองการปกครองในสังคมและสามารถปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ของพลเมืองได้อย่างเหมาะสม
ทักษะ:
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะชีวิต
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 


Week
Input
Process
Output
Outcome
5


โจทย์ : เศรษฐศาสตร์
 Key Questions :
- เราจะจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างไร เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าสูงสุด?
- ถ้าทรัพยากรมีอย่างจำกัด แต่ความต้องการของมนุษย์มีไม่  จำกัด มนุษย์จะมีวิธีจัดสรรทรัพยากรอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
Round Robin:
Chart and Chart:
Plate math:
Show and Share:
Wall Thinking:
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
- นักเรียนเล่นเกมไพ่ขายผลไม้
- นักเรียนวิเคราะห์ปัญหาจากการเลี้ยงไก่ใน2 Quarter ที่ผ่านมา (Chart and Chart)
- นักเรียนแบ่งกลุ่มวิเคราะห์ปัญหาและออกแบบการจัดการ กระบวนการของโครงการระยะยาว
- นักเรียนนำเสนอโครงการ
- นักเรียนแบ่งกลุ่มวิเคราะห์จากคำถาม(Plate math)
      -  ถ้าทรัพยากรมีอย่างจำกัด แต่ความต้องการของมนุษย์มีไม่จำกัด มนุษย์จะมีวิธีจัดสรรทรัพยากรอย่างไร?
     -   ถ้าไม่มีระบบเงินตรา สังคมจะเป็นอย่างไร?
     -   การที่เราตีค่าทรัพยากรในเชิงคุณค่าหรือมูลค่า ส่งผลต่อการจัดสรรทรัพยากรเหมือนหรือต่างกันอย่างไร?
     -  เราจะจัดการทรัพยากรธรรมชาติได้อย่างไร เพื่อใช้ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าสูงสุด?
     - นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- การเล่นเกมไผ่ขายผลไม้
- การวิเคราะห์ปัญหาจากการเลี้ยงไก่ใน2 Quarter ที่ผ่านมา
- การออกแบบโครงการจัดกระบวนการโครงการระยะยาว
- การนำเสนอโครงการ
- การแลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ชิ้นงาน
- ชาร์ตกระบวนการของโครงการระยะยาว
- Plate math
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและสามารถบริหารจัดการทรัพยากรในการผลิตและการบริโภค  การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดได้อย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า  รวมทั้งเข้าใจหลักการของเศรษฐกิจพอเพียง  เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีดุลยภาพทักษะ:
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะชีวิต
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 

   
Week
Input
Process
Output
Outcome
6
โจทย์ : ประวัติศาสตร์/ภูมิศาสตร์
Key Questions :
- เหตุการณ์ในอดีตส่งผลถึงปัจจุบันอย่างไร?
- คนไทยกับคนต่างชาติแตกต่างกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
Round Robin:
Show and Share:
Wall Thinking:
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คลิป VDO “จดหมายเหตุกรุงเสีย”
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
- ครูให้นักเรียนดูคลิป VDO “จดหมายเหตุกรุงเสีย”


-  ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
      -   เราเรียนรู้ประวัติศาสตร์เพื่ออะไร?
     -   จริงหรือ? ประวัติศาสตร์ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจนถึงปัจจุบัน?
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- นักเรียนเลือกคำถามคนละหนึ่งข้อแล้วทำการศึกษาค้นคว้า พร้อมทั้งนำเสนอความเข้าใจในรูปแบบ   Power Point
     -    เชื่อได้อย่างไรว่าประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในอดีตคือเหตุการณ์จริง?
      - ประวัติศาสตร์มักซ้ำรอยเสมอ คิดเห็นอย่างไรกับข้อความนี้?
     -   จากมนุษย์ถ้ำ มาจนถึงมนุษย์ในสมัยปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?
     -    เหตุการณ์ในอดีตส่งผลถึงปัจจุบันอย่างไร?
     -   การเปลี่ยนแปลงของแต่ละยุคสมัยส่งผลต่อพัฒนาการของมนุษยชาติอย่างไร?
     -     คนไทยคือใคร มาจากไหน?
     -  คนไทยกับคนต่างชาติแตกต่างกันอย่างไร?
    -   โลกเรามีหน้าตาอย่างไร?
     -    ทำไมอดีตอีสานจึงเป็นทะเล?
     -     โลกเกิดขึ้นมาได้อย่างไร?
     -   ความสัมพันธ์ของสรรพสิ่งซึ่งมีผลต่อกันและกันในระบบธรรมชาติเกิดขึ้นอย่างไร?
     -   ทำไมจึงมีสิ่งมีชีวิตต่างๆบนโลก?
     -     ทำไมโลกถึงเป็นดาวเคราะห์ที่เหมาะสมต่อการเกิดของสิ่งมีชีวิต?
     -    เราคือธรรมชาติ ธรรมชาติคืออะไร ข้อความประโยคนี้หมายความว่าอย่างไร?
     -    ทำไมแต่ละชนชาติจึงมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน?
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ภาระงาน
- การดูคลิปVDO “จดหมายเหตุกรุงเสีย”
- การอภิปรายร่วมกันจากคลิปที่ได้ดู
- การจัดกระทำข้อมูลเพื่อสร้างความเข้าใจในการจัดทำ
- การแลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
- Power Point
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจความหมาย  ความสำคัญของ     เวลาและยุคสมัยทางประวัติศาสตร์  สามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์มาวิเคราะห์เหตุการณ์ต่างๆได้อย่างเป็นระบบ                                                                                                                                                                      ทักษะ:
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะชีวิต
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 





Week
Input
Process
Output
Outcome
7


โจทย์ : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
Key Questions :
- สิ่งมีชีวิตกำเนิดขึ้นได้อย่างไร?
- โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
Round Robin:
Show and Share:
Wall Thinking:
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คลิป VDO “สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิต”
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
- ครูให้นักเรียนดูคลิป “สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิต”
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันจากคลิปที่ได้ดู
- นักเรียนจับคู่เลือกคำถามหนึ่งคำถามเพื่อศึกษาค้นคว้าพร้อมทั้งออกแบบสื่อการเรียนที่ใช้ได้จริง
-          โครงสร้างและการทำงาน
ของระบบต่างๆในร่างกายแบ่งออกเป็นกี่  ระบบ และแต่ละระบบมีการทำงานสัมพันธ์กันอย่างไร?
-          -สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดประกอบขึ้นจากอะไรบ้าง และถ้าขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไป สิ่งมีชีวิตนั้นจะเป็นอย่างไร?
-          ทำไมเราต้องศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต?
-          สิ่งมีชีวิตกำเนิดขึ้นได้อย่างไร
-          โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร?
-          ทำไมวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตต่างๆจึงแตกต่างกัน?
-          เทคโนโลยีชีวภาพมีความสำคัญอย่างไรในสังคมปัจจุบัน?
-          สิ่งมีชีวิตมีการส่งต่อความเป็นเผ่าพันธุ์ให้รุ่นลูกรุ่นหลานอย่างไร?
-          ทำไมสิ่งมีชีวิตบางชนิดถึงอยู่รอดมาถึงปัจจุบัน ขณะที่บางชนิดสูญพันธุ์?
-          เทคโนโลยีชีวภาพที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ส่งผลต่อมนุษย์ สัตว์ และธรรมชาติอย่างไร?
-          ความหลากหลายทางชีวภาพส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ และโลกอย่างไร?
-          วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและการถ่ายทอดทางพันธุกรรมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตอย่างไรบ้าง?
-          ทำไมปัจจัยแวดล้อมต่างๆจึงส่งผลต่อการถ่ายทอดลักษณะบางสิ่งจากรุ่นสู่รุ่น?
- นักเรียนนำเสนอชิ้นงานพร้อมทั้งอภิปรายแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ภาระงาน
- การอภิปรายร่วมกันจากคลิป VDO ที่ได้ดู
- การศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากชุดคำถามเพื่อจัดทำสื่อการเรียนรู้
- การแลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ชิ้นงาน
- สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
ทักษะ:
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะชีวิต
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 


Week
Input
Process
Output
Outcome
8


โจทย์ : ชีวิตกับสิ่งแวดล้อม Key Questions :
- สิ่งแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตต่างๆในระบบนิเวศมีความสัมพันธ์กันการอย่างไร?
- จะทำอย่างไรเมื่อความต้องการของมนุษย์อยู่เหนือข้อจำกัดของทรัพยากร?
เครื่องมือคิด :
Round Robin:
Chard and Chart:
Plate mat:
Show and Share:
Wall Thinking:
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- ภาพ “ระบบนิเวศ”
- ภาพยนตร์ “เอคโค่ จิ้วก้องโลก”
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
- ครูให้นักเรียนดูภาพ


- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ทรัพยากรบางชนิดมีหมดไป เช่น น้ำมันจะหมดลงในอีก 40 ปี เราจะมีวิธีการจัดการอย่างไร?
(Chard and Chart )
- ครูเปิดภาพยนตร์ เอคโค่ จิ้วก้องโลกให้นักเรียนดู
- นักเรียนแบ่งกลุ่มวิเคราะห์สิ่งเรียนรู้จากภาพยนตร์ (Plate mat)
- นักเรียนแบ่งกลุ่มหาข้อมูลเพื่อตั้งคำถามเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- การอภิปรายร่วมกันจากรูปภาพ
- การวิเคราะห์และอภิปรายร่วมกันจากการดูภาพยนตร์
- การตั้งคำถามเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การแลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ชิ้นงาน
- Plate matวิเคราะห์สิ่งที่ได้เรียนรู้จากภาพยนตร์
-คำถามเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่น   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งแวดล้อมกับสิ่งมีชีวิต   ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ในระบบนิเวศ มีกระบวนการสืบเสาะ
หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ได้
ทักษะ:
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะชีวิต
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 


Week
Input
Process
Output
Outcome
9


โจทย์ :
- สารและสมบัติของสาร
- แรงและการเคลื่อนที่
- พลังงาน
Key Questions :
- สมบัติของสารแต่ละชนิดเป็นอย่างไร?
- การเปลี่ยนแปลงของสารเกิดขึ้นอย่างไร?
-ทำไมจึงต้องใช้พลังงานในการดำเนินชีวิต
เครื่องมือคิด :
Round Robin:
Show and Share:
Wall Thinking:
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ

- ครูและนักเรียนทบทวนเนื้อหาเรื่อง สารและสมบัติของสาร,แรงและการเคลื่อนที่และพลังงาน
- นักเรียนแบ่งกลุ่มเพื่อศึกษาเรื่องสารและสมบัติของสาร,แรงและการเคลื่อนที่,พลังงานแล้วนำเสนอความเข้าใจในรูปแบบรายงาน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอชิ้นงานและอภิปรายร่วมกัน
- นักเรียนแต่ละกลุ่มออกแบบใบงานในเนื้อหาที่ตนเองได้รับ
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ภาระงาน
- การทบทวนเนื้อหาเรื่อง สารและสมบัติของสาร,แรงและการเคลื่อนที่และพลังงาน
- การศึกษาเรื่อง สารและสมบัติของสาร,แรงและการเคลื่อนที่และพลังงาน
เพื่อจัดทำรายงาน
- การออกแบบใบงาน
- การแลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์

ชิ้นงาน
- รูปเล่มรายงาน
- ใบงานที่ออกแบบด้วยตนเอง
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ความรู้
เข้าใจความสัมพันธ์ของสารและสมบัติของสาร,แรงและการเคลื่อนที่และพลังงานพร้อมทั้งมีกระบวนการสืบเสาะ หาความรู้และจิตวิทยาศาสตร์ 
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้ นำความรู้ไปใช้ประโยชน์
ทักษะ:
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะชีวิต
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 



Week
Input
Process
Output
Outcome
10


โจทย์ : สรุปองค์ความรู้ Quarter 3
Key Questions :
-  นักเรียนได้เรียนรู้อะไรบ้างใน Quarterนี้?
- นักเรียนจะจัดการความรู้ใน Quarterนี้อย่างไร?
เครื่องมือคิด :
Round Robin:
Black Board Share:
Show and Share:
Wall Thinking:
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ


- นักเรียนร่วมกันทบทวนกิจกรรมที่เรียนผ่านมาทั้งหมดในQuarterนี้?
-  นักเรียนเขียนสรุปองค์ความรู้เป็น  Mind Mapping หลังเรียน/ นำเสนอ
- นักเรียนและครูร่วมกันประเมินเพื่อสะท้อนผลงาน
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
การแลกเปลี่ยนสิ่งที่เรียนมาทั้ง Quarter
- การเขียนสิ่งที่ดีแล้วสิ่งที่ควรพัฒนา
- การนำเสนอความเข้าใจ ผ่านละคร ,คลิปฯลฯ
การตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้

ชิ้นงาน
- Mind Mapping สรุปองค์ความรู้หลังเรียน
เขียนตอบคำถามสิ่งที่อยากเรียนรู้
ละคร ,คลิปฯลฯ
สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์


ความรู้
มีเป้าหมายในการเรียนรู้เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการจัดการชุดข้อมูลต่างๆพร้อมทั้งสามารถนำเสนอความเข้าใจได้ด้วยวิธีการของตนเอง
ทักษะ:
ทักษะการจัดการข้อมูล
ทักษะชีวิต
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
ทักษะการสื่อสาร
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 


ตารางวิเคราะห์มาตรฐานและตัวชี้วัด


ตารางวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างสาระการเรียนรู้กับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดแต่ละกลุ่มสาระ
หน่วย การจัดการชุดความรู้ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2


สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
1.2
2.1
2.2
4.1
4.2
5.1
8.1
วิทยาศาสตร์
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ระบบนิเวศน์ท้องถิ่น
-โรคทางพันธุกรรม
หน่วยพันธุกรรม(DNA,RNA)
ความหลากหลายทางชีวภาพ


สังเกตและอธิบายลักษณะของโครโมโซม
ที่มีหน่วยพันธุกรรม  หรือยีนในนิวเคลียส
(ว1.2 ม.3/1)

สำรวจระบบนิเวศต่างๆ ในท้องถิ่นและอธิบาความสัมพันธ์ขององค์ประกอบภายในระบบนิเวศ (ว2.1ม.3/1)

- วิเคราะห์สภาพปัญหาสิ่งแวดล้อม  ทรัพยากร ธรรมชาติในท้องถิ่น และเสนอแนวทางในการ แก้ไขปัญหา (ว2.2 ม.3/1)

- อธิบายความเร่งและผลของแรงลัพธ์ที่ทำต่อวัตถุ
(4.1 ม.3/1)
- ทดลองและอธิบายแรงกิริยาและแรงปฏิกิริยา ระหว่างวัตถุ  และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
(4.1 ม.3/2)

- ทดลองและอธิบายความแตกต่างระหว่างแรงเสียดทานสถิตกับแรง และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
(4.2 ม.3/1)


- อธิบายงาน พลังงานจลน์ พลังงานศักย์โน้มถ่วง กฎการอนุรักษ์พลังงาน และความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเหล่านี้ รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
(ว5.1 ม.3/1)
- ตั้งคำถามที่กำหนดประเด็นหรือตัวแปร
ที่สำคัญในการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจ  ได้อย่างครอบคลุ่ม และเชื่อถือได้
(ว8.1 ม.3/1)



สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
1.2
2.1
2.2
4.1
4.2
5.1
8.1
วิทยาศาสตร์
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ระบบนิเวศน์ท้องถิ่น
-โรคทางพันธุกรรม
หน่วยพันธุกรรม(DNA,RNA)ความหลากหลายทางชีวภาพ
- กฎของนิวตัน (การเคลื่อนที่ในแนวต่างๆ)
- แรงลัพธ์
- แรงเสียดทาน
- แรงพยุง
 - อธิบายความสำคัญของสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอและกระบวนการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
(ว1.2 ม.3/2)
อภิปรายโรคทางพันธุกรรม ที่เกิดจากความผิดปกติของยีนและโครโมโซมและนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
(ว1.2 ม.3/3)
อธิบาย วัฏจักรน้ำ
วัฏจักรคาร์บอน และความสำคัญที่มีต่อระบบนิเวศ
(ว2.1 ม.3/2)
อธิบายปัจจัยที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงขนาดของประชากร  ในระบบนิเวศ
(ว2.1 ม.3/3)

- วิเคราะห์และอธิบายการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ  ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง(ว2.2 ม.3/2)
- อภิปรายปัญหาสิ่งแวดล้อม และเสนอแนะแนวทางการแก้ปัญหา
(2.2 ม.3/3)
- อภิปราย และมีส่วนร่วมในการดูแลและอนุรักษ์    สิ่งแวดล้อม ในท้องถิ่นอย่างยั่งยืน (ว2.2 ม.3/4)

- ทดลองและอธิบายแรงพยุงของของเหลวที่กระทำต่อวัตถุ
 (ว4.1 ม.3/3)
- ทดลองและวิเคราะห์โมเมนต์ของแรง และนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
 (4.2 ม.3/2)
 -  สังเกต และอธิบายการเคลื่อนที่ของวัตถุที่เป็น    แนวตรง และแนวโค้ง
(ว4.2 ม.3/3)
- อธิบายงาน พลังงานจลน์ พลังงานศักย์โน้มถ่วง กฎการอนุรักษ์พลังงาน และความสัมพันธ์ระหว่างปริมาณเหล่านี้ รวมทั้งนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
(ว5.1 ม.3/1)
- สร้างสมมติฐาน ที่สามารถตรวจสอบได้และวางแผนการสำรวจตรวจสอบหลาย ๆ วิธี(ว8.1 ม.3/2)
- เลือกเทคนิควิธีการสำรวจตรวจสอบ
ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้ผลเที่ยงตรงและปลอดภัยโดยใช้วัสดุและเครื่องมือที่เหมาะสม
(ว8.1 ม.3/3)



สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
1.2
2.1
2.2
8.1
วิทยาศาสตร์
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ระบบนิเวศน์ท้องถิ่น
-โรคทางพันธุกรรม
หน่วยพันธุกรรม(DNA,RNA)ความหลากหลายทางชีวภาพ
- กฎของนิวตัน (การเคลื่อนที่ในแนวต่างๆ)
- แรงลัพธ์
- แรงเสียดทาน
- แรงพยุง
สำรวจและอธิบายความหลากหลาย
ทางชีวภาพ ในท้องถิ่น
ที่ทำให้สิ่งมีชีวิต ดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสมดุล (ว1.2ม.3/4)
อธิบายผลของความ
- หลากหลายทางชีวภาพที่มีต่อมนุษย์ สัตว์  พืช และสิ่งแวดล้อม
(ว1.2 ม.3/5)
วิเคราะห์และอธิบายความสัมพันธ์ของการถ่ายทอดพลังงานของสิ่งมีชีวิตในรูปของโซ่อาหารและสายใยอาหาร
(ว2.1 ม.3/4)

- อธิบายแนวทางการรักษาสมดุลของระบบนิเวศ (ว2.2 ม.3/5)
- อภิปรายการใช้ทรัพยากร ธรรมชาติอย่างยั่งยืน(2.2 ม.3/6)
- รวบรวมข้อมูลจัดกระทำข้อมูลเชิงปริมาณและคุณภาพ(ว8.1 ม.3/4)
- วิเคราะห์และประเมิน ความสอดคล้องของประจักษ์พยานกับข้อสรุป ทั้งที่สนับสนุนหรือขัดแย้งกับสมมติฐานและความผิดปกติของข้อมูลจากการสำรวจตรวจสอบ(ว8.1 ม.3/5)



สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
8.1
วิทยาศาสตร์
การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ระบบนิเวศน์ท้องถิ่น
-โรคทางพันธุกรรม
หน่วยพันธุกรรม(DNA,RNA)
ความหลากหลายทางชีวภาพ
- กฎของนิวตัน (การเคลื่อนที่ในแนวต่างๆ)
- แรงลัพธ์
- แรงเสียดทาน
- แรงพยุง
- สร้างแบบจำลอง หรือรูปแบบ  ที่อธิบายผลหรือแสดงผลของการสำรวจตรวจสอบ
(ว8.1 ม.3/6)
- สร้างคำถามที่นำไปสู่การสำรวจตรวจสอบ ในเรื่องที่เกี่ยวข้องและนำความรู้ที่ได้ไปใช้  ในสถานการณ์ใหม่ หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการและผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ(ว8.1 ม.3/7)
- อธิบายผลการสังเกตการสำรวจ ตรวจสอบ ค้นคว้าเพิ่มเติมจากแหล่งความรู้ต่าง ๆ   ให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ และยอมรับการเปลี่ยนแปลงความรู้ที่ค้นพบ  เมื่อมีข้อมูลและประจักษ์พยานใหม่เพิ่มขึ้นหรือโต้แย้งจากเดิม (ว8.1 ม.3/8)
- จัดแสดงผลงาน เขียนรายงาน และ/หรืออธิบายเกี่ยวกับแนวคิด กระบวนการ และผลของโครงงานหรือชิ้นงานให้ผู้อื่นเข้าใจ(ว8.1 ม.3/9)
- ตั้งคำถามที่กำหนดประเด็นหรือตัวแปรที่สำคัญในการสำรวจตรวจสอบ หรือศึกษาค้นคว้าเรื่องที่สนใจ  ได้อย่างครอบคลุ่ม และเชื่อถือได้ (ว8.1 ม.3/1)
- สร้างสมมติฐาน ที่สามารถตรวจสอบได้และวางแผนการสำรวจตรวจสอบหลาย ๆ วิธี (ว8.1 ม.3/2)
- เลือกเทคนิควิธีการสำรวจตรวจสอบทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่ได้ผลเที่ยงตรงและปลอดภัยโดยใช้วัสดุและเครื่องมือที่เหมาะสม (ว8.1 ม.3/3)


สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
2.2
3.1
3.2
  สังคมศึกษา
- ระบบการปกครอง
- หน้าที่พลเมือง
 -  อธิบายระบอบ การปกครอง แบบต่าง ๆ ที่ใช้ในยุคปัจจุบัน (ส2..2 ม.3/1)
- วิเคราะห์เปรียบเทียบระบอบ การปกครองของไทยกับประเทศอื่นๆ 
 ที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตย
(ส2..2 ม.3/2)
- วิเคราะห์รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันในมาตราต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้ง การมีส่วนร่วมและการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ (ส2..2 ม.3/3)
- วิเคราะห์ประเด็นปัญหา   ที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของประเทศไทยและเสนอแนวทางแก้ไข (ส2..2 ม.3/4)
- อธิบายกลไกราคาในระบบเศรษฐกิจ
(3.1 ม.3/1)
- มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาท้องถิ่น (ส3.1  ม.3/2)
- อธิบายบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลในระบบเศรษฐกิจ(3.2   ม.3/1)
- แสดงความคิดเห็นต่อนโยบายและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของรัฐบาลที่มีต่อบุคคล กลุ่มคนและประเทศชาติ (ส3.2   ม.3/2)
- อภิปรายบทบาทความสำคัญของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (ส3.2   ม.3/3)
อภิปรายผลกระทบที่เกิดจากภาวะเงินเฟ้อ เงินฝืด(3.2   ม.3/4)
- วิเคราะห์ผลเสียจากการว่างงานและแนวทางแก้ปัญหา(3.2   ม.3/5)
- วิเคราะห์สาเหตุและวิธีการกีดกันทางการค้าในการค้าระหว่างประเทศ( ส3.2   ม.3/6)


สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
4.1
4.3
    ประวัติศาสตร์
- ยุคสมัยและวิธีทางประวัติศาสตร์
- ภูมิศาสตร์ที่เปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย
- เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ที่สำคัญของประเทศไทยในสมันกรุงรัตนโกสินทร์

- ประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ในลักษณะต่างๆ (ส4.1  ม.3/1)
- วิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างความจริงกับข้อเท็จจริงของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ (ส4.1  ม.3/2)
- เห็นความสำคัญของการตีความ หลักฐานทางประวัติศาสตร์
ที่น่าเชื่อถือ (ส4.2  ม.3/3)
วิเคราะห์พัฒนาการของไทยสมัยรัตนโกสินทร์  ในด้านต่างๆ
 (ส4.3  ม.3/1)
วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความมั่นคงและความเจริญรุ่งเรืองของไทยในสมัยรัตนโกสินทร์(ส4.3  ม.3/2)
- วิเคราะห์ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทยสมัยรัตนโกสินทร์และอิทธิพล   ต่อการพัฒนาชาติไทย (ส4.3  ม.3/3)


สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
1.1
2.1
สุขศึกษาและพลศึกษา
- การส่งเสริมสุขภาพ
- อิทธิพลความคาดหวังต่อสังคมต่อการเปลี่ยนแปลง
- สื่อโฆษณา
- การวางแผนการดำเนินชีวิต
- เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย  จิตใจ  อารมณ์  สังคม  และสติปัญญา  แต่ละช่วงของชีวิต
(1.1 ม.3/1)
วิเคราะห์อิทธิพลและความคาดหวังของสังคมต่อการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่น (พ1.1 ม.3/2)
-วิเคราะห์ สื่อ  โฆษณา  ที่มีอิทธิพล ต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของวัยรุ่น  (พ1.1 ม.3/3)
- อธิบายอนามัยแม่และเด็ก การวางแผนครอบครัว และวิธีการปฏิบัติตนที่เหมาะสม(พ2.1 ม.3/1)
วิเคราะห์ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อ  การตั้งครรภ์ (พ2.1 ม.3/2)
- วิเคราะห์สาเหตุ  และเสนอแนวทางป้องกัน แก้ไขความขัดแย้งในครอบครัว (พ2.1 ม.3/3)


สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
3.1
3.2
4.1
สุขศึกษาและพลศึกษา
- การเล่นเกมและกีฬาที่ถูกต้องตามกฎกติกา
- วางแผนกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพและสมรรถภาพ
เล่นกีฬาไทยและกีฬาสากล  ได้อย่างละ ๑ ชนิดโดยใช้เทคนิคที่เหมาะสมกับตนเองและทีม (พ3.1 ม.3/1)
-นำหลักการ  ความรู้และทักษะในการเคลื่อนไหว กิจกรรมทางกาย  การเล่นเกม     และการเล่นกีฬาไปใช้สร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง  เป็นระบบ
(พ3.1 ม.3/2)
-ร่วมกิจกรรมนันทนาการอย่างน้อย 1กิจกรรม  และนำหลักความรู้วิธีการไปขยายผลการเรียนรู้ให้กับผู้อื่น
(พ3.1 ม.3/3)
- มีมารยาทในการเล่นและดูกีฬาด้วยความมีน้ำใจนักกีฬา (พ3.2 ม.3/1)
- ออกกำลังกายและเล่นกีฬาอย่างสม่ำเสมอและนำแนวคิดหลักการจากการเล่นไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนด้วยความภาคภูมิใจ
 (พ3.2 ม.3/2)
- ปฏิบัติตนตามกฎ  กติกา  และข้อตกลง  ในการเล่นตามชนิดกีฬาที่เลือกและนำแนวคิด ที่ได้ไปพัฒนาคุณภาพชีวิต ของตนในสังคมจำแนกกลวิธีการรุก  (พ3.2 ม.3/3)
 - การป้องกัน  และใช้ในการเล่นกีฬาที่เลือกและตัดสินใจเลือกวิธีที่เหมาะสมกับทีมไปใช้ได้ตามสถานการณ์  ของการเล่น
 (พ3.2 ม.3/4)
- เสนอผลการพัฒนาสุขภาพของตนเองที่เกิดจากการออกกำลังกาย และการเล่นกีฬาเป็นประจำ (พ3.2 ม.3/5)
- วางแผนและจัดเวลา ในการ ออกกำลังกาย  การพักผ่อนและการสร้างเสริมสมรรถภาพ    ทางกาย
(4.1 ม.3/1)
ทดสอบสมรรถภาพทางกาย  และพัฒนาได้ตามความแตกต่างระหว่างบุคคล (พ4.1 ม.3/2)


สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
1.1
1.2
2.1
3.1
3.2
ศิลปศึกษา
- ทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรม
- ดนตรี
- นาฏศิลป์
 - บรรยายสิ่งแวดล้อม และงานทัศนศิลป์ที่เลือกมาโดยใช้ความรู้เรื่องทัศนธาตุ และหลักการออกแบบ
(ศ1.1 ม.3/1)
- ระบุ และบรรยายเทคนิค  วิธีการของศิลปินในการสร้างงาน ทัศนศิลป์
(ศ1.1 ม.3/2)
-. วิเคราะห์ และบรรยายวิธีการใช้ทัศนธาตุ และหลักการออกแบบในการสร้างงาน   ทัศนศิลป์ของตนเองให้มีคุณภาพ
(ศ1.1 ม.3/3)

- ศึกษาและอภิปรายเกี่ยวกับงานทัศนศิลป์
(ศ1.2 ม.3/1)
ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรม
- เปรียบเทียบความแตกต่างของงานทัศนศิลป์ ในแต่ละยุคสมัย ของวัฒนธรรมไทยและสากล(ศ1.2 ม.3/2)
- เปรียบเทียบองค์ประกอบที่ใช้ในงานดนตรีและงานศิลปะอื่น  (ศ2.1 ม.3/1)
- ร้องเพลง  เล่นดนตรีเดี่ยว และรวมวง โดยเน้นเทคนิคการร้อง การเล่น การแสดงออก และคุณภาพสียง
(ศ2.1 ม.3/2)
- แต่งเพลงสั้น ๆจังหวะง่าย ๆ(ศ2.1 ม.3/3)
- อธิบายเหตุผลในการเลือกใช้องค์ประกอบดนตรี ในการสร้างสรรค์งานดนตรีของตนเอง(ศ2.1 ม.3/4)
- ระบุโครงสร้างของบทละครโดยใช้ศัพท์ทางการละคร
 (ศ3.1 ม.3/1)
-ใช้นาฏยศัพท์ หรือศัพท์ทางการละครที่เหมาะสมบรรยายเปรียบเทียบการแสดงอากัปกิริยาของผู้คนในชีวิต ประจำวันและในการแสดง(ศ3.1 ม.3/2)
- มีทักษะในการใช้ความคิดในการพัฒนารูปแบบการแสดง(ศ3.1 ม.3/3)
- มีทักษะในการแปลความและการสื่อสารผ่านการแสดง
(ศ3.1 ม.3/4)
- ออกแบบ และสร้างสรรค์อุปกรณ์ และเครื่องแต่งกาย เพื่อแสดงนาฏศิลป์และการละครที่มาจากวัฒนธรรมต่าง ๆ
(3.2 ม.3/1)
- อธิบายความสำคัญและบทบาทของนาฏศิลป์และการละครในชีวิตประจำวัน
 (ศ3.2 ม.3/2)
- แสดงความคิดเห็นในการอนุรักษ์ (ศ3.2 ม.3/3)

สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
1.1
2.1
3.1
ศิลปศึกษา
- ทัศนศิลป์ที่สะท้อนคุณค่าของวัฒนธรรม
- ดนตรี
- นาฏศิลป์
- มีทักษะในการสร้างงานทัศนศิลป์อย่างน้อย ๓  ประเภท (ศ1.1 ม.3/4)
- มีทักษะในการผสมผสานวัสดุต่าง ๆ ในการสร้างงานทัศนศิลป์โดยใช้หลักการออกแบบ (ศ1.1 ม.3/5)
- สร้างงานทัศนศิลป์ ทั้ง ๒ มิติ และ ๓ มิติเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์และจินตนาการ (ศ1.1 ม.3/6)
- สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์สื่อความหมายเป็นเรื่องราวโดยประยุกต์ใช้ทัศนธาตุ และหลักการออกแบบ (ศ1.1 ม.3/7)
วิเคราะห์และอภิปรายรูปแบบ เนื้อหาและคุณค่าในงานทัศนศิลป์ของตนเอง และผู้อื่น หรือของศิลปิน (ศ1.1 ม.3/8)
-สร้างสรรค์งานทัศนศิลป์เพื่อบรรยาย     เหตุการณ์ต่าง ๆ โดยใช้เทคนิคที่หลากหลาย
(1.1 ม.3/9)
- เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างงานดนตรีของตนเองและผู้อื่น 
(ศ2.1 ม.3/5)               
- อธิบายเกี่ยวกับอิทธิพลของดนตรีที่มีต่อบุคคลและสังคม (ศ2.1 ม.3/6)
-นำเสนอ หรือจัดการแสดงดนตรีที่เหมาะสม โดยการ บูรณาการกับสาระการเรียนรู้อื่นในกลุ่มศิลปะ(ศ2.1 ม.3/7)
- วิจารณ์เปรียบเทียบงานนาฏศิลป์ที่มีความแตกต่างกันโดยใช้ความรู้เรื่ององค์ประกอบนาฏศิลป์
(ศ3.1 ม.3/5)
- ร่วมจัดงานการแสดง ในบทบาทหน้าที่ต่าง ๆ
(ศ3.1 ม.3/6)
- นำเสนอแนวคิดจากเนื้อเรื่อง ของการแสดงที่สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน (ศ3.1 ม.3/7)


สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
1.1
3.1
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
- ขั้นตอนการสร้างชิ้นงาน
- อภิปรายขั้นตอนการทำงานที่มีประสิทธิภาพ(ง1.1 ม.3/1)
- ใช้ทักษะในการทำงานร่วมกันอย่างมีคุณธรรม(ง1.1 ม.3/2)
- อภิปรายการทำงานโดยใช้ทักษะ การจัดการเพื่อการประหยัดพลังงาน ทรัพยากร และสิ่งแวดล้อม (ง1.1 ม.3/3)
-ใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสร้างชิ้นงานจากจินตนาการหรืองานที่ทำใน (ง3.1 ม.3/1)
ชีวิตประจำวัน ตามหลักการทำโครงงานอย่างมีจิตสำนึกและ ความรับผิดชอบ
 (ง3.1 ม.3/2)


สาระการเรียนรู้
มาตรฐานการเรียนรู้รายวิชาและตัวชี้วัด
วิทยาศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา
และวัฒนธรรม
การงานอาชีพ
และเทคโนโลยี
สุขศึกษาและพลานามัย
ศิลปะ
ประวัติศาสตร์
หน้าที่พลเมือง
หน้าที่พลเมือง