เป้าหมาย(Understanding Goals) :

ความรู้: เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการจัดการชุดข้อมูลต่างๆและมีวิธีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

ทักษะ: การแสวงข้อมูล / การคิด/จัดการข้อมูล / การนำเสนอ

คุณลักษณะ: มีเป้าหมายในการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจ / เอื้อเฟื้อข้อมูล

Week3

เป้าหมายรายสัปดาห์  : เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย  ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยได้อย่างมีวิจารณญาณ
Week
Input
Process
Output
Outcome
3


โจทย์ : หน้าที่พลเมือง  วัฒนธรรม  และการดำเนินชีวิตในสังคม
Key Questions :
- ทำอย่างไร เราจึงจะสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และสังคมโลกอย่างสันติสุข
- การปฏิบัติตัวให้เป็นพลเมืองที่ดีในการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันเป็นอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
Round Robin: อภิปรายร่วมกันจากคลิป VDO ที่ได้ดู
Plate mat: วิเคราะห์คำว่า หน้าที่พลเมือง
Show and Share: นำเสนอ Plate mat
Wall Thinking: ติดชิ้นงานการ์ตูนช่อง, อินโฟว์กราฟฟิก, แผ่นพับ, แบบสอบถาม ,ชาร์ตรูปภาพ
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คลิป VDO “สามัคคีคือพลัง”
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ


วันจันทร์
ชง:
- ครูให้นักเรียนดูคลิป VDO “สามัคคีคือพลัง”

- นักเรียนอภิปรายร่วมกันจากคลิป VDO ที่ได้ดู
เชื่อม:
- นักเรียนแบ่งกลุ่มวิเคราะห์คำว่า หน้าที่พลเมือง ผ่านเครื่องมือคิด Plate mat
- นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอ Plate mat ผ่านเครื่องมือคิด Show and Share
ใช้: นักเรียนตั้งคำถามเกี่ยวกับหน้าที่พลเมืองในมุมมองของตนเอง
วันพุธ
ชง:
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม
-          การเป็นพลเมืองที่ดีต้องทำอย่างไร?
-          ทำอย่างไร เราจึงจะสามารถอยู่ร่วมกันในสังคมไทย และสังคมโลกอย่างสันติสุข
-          พลเมืองที่ดีมีหน้าที่อย่างไรต่อตนเองและรัฐ
-          การปฏิบัติตนตามหน้าที่พลเมืองที่ดีจะส่งผลอย่างไรบ้าง
-          ปัจจัยสำคัญที่มนุษย์อยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสันติสุขคือปัจจัยใด?
-          การปฏิบัติตัวให้เป็นพลเมืองที่ดีในการใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบันเป็นอย่างไร?
เชื่อม:
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
- นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ3 คนศึกษาสืบค้นข้อมูลจากคำถาม
วันพฤหัสบดี
ชง:
- ครูใช้คำถามกระตุ้นการคิด “นักเรียนจะจัดทำชิ้นงานอย่างไรที่แสดงถึงความเข้าใจ?
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
เชื่อม:
- นักเรียนแต่ละจับฉลากเลือกรูปแบบชิ้นงานที่จะจัดทำ (การ์ตูนช่อง, อินโฟว์กราฟฟิก, แผ่นพับ, แบบสอบถาม ,ชาร์ตรูปภาพ)
- นักเรียนจำทำชิ้นงาน
ชง:
- ครูให้นักเรียนแต่ละกลุ่มรายงานความคืบหน้าของการทำงานรวมทั้งปัญหาและอุปสรรคที่พบเจอ
- ครูและเพื่อนให้ข้อเสนอแนะในการแก้ปัญหาร่วมกัน
วันพฤหัสบดี
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ ความรู้ใหม่ที่ได้คืออะไร?
- นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร?
เชื่อม:
- นักเรียนอภิปรายร่วมกันถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- การแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นจาการดูคลิป VDO
- การอภิปรายร่วมกันจากคำถาม
- การจัดกระทำชิ้นงานที่แสดงความเข้าใจของตนเอง
- การแลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ชิ้นงาน
- โครงการ “สิทธิและหน้าที่ของเรา”
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ความรู้
เข้าใจและปฏิบัติตนตามหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดี มีค่านิยมที่ดีงาม และธำรงรักษาประเพณีและวัฒนธรรมไทย  ดำรงชีวิตอยู่ร่วมกันในสังคมไทยได้อย่างมีวิจารณญาณ
ทักษะ:
ทักษะการจัดการข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลที่ศึกษาและจัดการข้อมูลในรูปแบบของตนเอง
ทักษะชีวิต
ใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่อย่างจำกัดสร้างสรรค์ชิ้นงานได้
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
นักเรียนแต่ละคน ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นและรับฟังทัศนะคติของผู้อื่นอย่างมีเหตุผล
ทักษะการสื่อสาร
นำเสนอข้อมูลหน้าชั้นเรียนได้ชัดเจนด้วยนำเสียงและท่าทางที่เหมาะสม
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 


ตัวอย่างกิจกรรม









ตัวอย่างชิ้นงาน
จัดการชุดความรู้ในรูปแบบของตนเอง












สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์









1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์ที่ 3 คุณครูเริ่มต้นด้วยคำถามที่ทุกคนต้องทำหน้าฉงนว่า การเป็นพลเมืองที่ดีต้องทำอย่างไร พี่ฟิวส์: ครูครับแล้วพลเมืองที่ดีคืออะไรครับ เพื่อนหลายคนจึงบอกว่าก็การทำตามกฎหมายใช่ไหมค่ะแล้วถ้าไม่ทำตามนี้จะกลายเป็นเมืองไม่ดีเลยใช่ไหมค่ะ คุณครูจึงเปิดคลิป “สามัคคีคือพลัง” จากนั้นจึงได้อภิปรายร่วมกันว่าได้เรียนรู้อะไรบ้างจาการดูคลิปครั้งนี้ พี่ฟ้ารุ้ง: การที่เราอยู่ในสังคมร่วมกันบางครั้งเราต้องเคารพกันและกันค่ะ อาจไม่ต้องบังคับด้วยกฎหมายค่ะ แต่เราควรเคารพสิทธิของกันและกันค่ะ
    พี่ๆจึงแบ่งกลุ่มจับฉลากชุดคำถามเพื่อศึกษาและจัดกระทำชิ้นงานที่แสดงถึงความเข้าใจแต่ในสัปดาห์นี้หลังจากที่พี่ๆได้หาข้อมูลและนำมาแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกันแล้วพี่ๆต้องตั้งคำถามกลุ่มละหนึ่งคำถามเพื่อให้เพื่อนได้นำไปศึกษาต่อ ตัวอย่างคำถามของพี่ๆค่ะ สังคมจะเป็นอย่างไรถ้าไม่มีกฎหมาย?, ทำไมต้องมีบัตรประชาชน? ฯลฯ พี่ๆต้องใช้เวลาในการศึกษาข้อมูลค่อนข้างนานและต้องจัดกระทำข้อมูลพอสมควรจึงจะสามารถตอบคำถามและตั้งคำถามใหม่ได้ ในสัปดาห์นี้ได้เห็นทักษะการแก้ปัญหาของพี่ๆหลายอย่าง เช่นการสืบค้นข้อมูล เนื่องจากระบบอินเทอร์เน็ตที่บ้านมัธยมใช่ไม่ได้จึงต้องยืมหนังสือห้องสมุด หรือบางครั้งต้องยกคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คของตนเองไปหน้าห้องดนตรีเพื่อหาสัญญาณ

    ตอบลบ