เป้าหมาย(Understanding Goals) :

ความรู้: เข้าใจและสามารถอธิบายกระบวนการจัดการชุดข้อมูลต่างๆและมีวิธีการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง

ทักษะ: การแสวงข้อมูล / การคิด/จัดการข้อมูล / การนำเสนอ

คุณลักษณะ: มีเป้าหมายในการเรียนรู้ / แรงบันดาลใจ / เอื้อเฟื้อข้อมูล

Week7

เป้าหมายรายสัปดาห์: เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้ สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต

แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สัปดาห์ที่ 7
Week
Input
Process
Output
Outcome

7

7 – 11
ธ.ค. 2558

โจทย์ : สิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำรงชีวิต
Key Questions :
- สิ่งมีชีวิตกำเนิดขึ้นได้อย่างไร?
- โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร?
เครื่องมือคิด :
Round Robin: อภิปรายร่วมกันจากชุดคำถาม
Show and Share: นำเสนอชิ้นงาน
ผู้ร่วมสร้างการเรียนรู้ :
- ครู
- นักเรียน
สื่อและแหล่งเรียนรู้
- คลิป VDO “สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิต”
- Internet
- สี/ปากกา/กระดาษ
วันจันทร์
ชง:
- ครูให้นักเรียนดูคลิป “สิ่งมีชีวิตและการดำรงชีวิต”
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันจากคลิปที่ได้ดู
เชื่อม:
- นักเรียนจับคู่เลือกคำถามหนึ่งคำถามเพื่อศึกษาค้นคว้าพร้อมทั้งออกแบบสื่อการเรียนที่ใช้ได้จริง
-          โครงสร้างและการทำงาน
ของระบบต่างๆในร่างกายแบ่งออกเป็นกี่  ระบบ และแต่ละระบบมีการทำงานสัมพันธ์กันอย่างไร?
-          -สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดประกอบขึ้นจากอะไรบ้าง และถ้าขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไป สิ่งมีชีวิตนั้นจะเป็นอย่างไร?
-          ทำไมเราต้องศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต?
-          สิ่งมีชีวิตกำเนิดขึ้นได้อย่างไร
-          โครงสร้างของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกันอย่างไร?
-          ทำไมวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตต่างๆจึงแตกต่างกัน?
-          เทคโนโลยีชีวภาพมีความสำคัญอย่างไรในสังคมปัจจุบัน?
-          สิ่งมีชีวิตมีการส่งต่อความเป็นเผ่าพันธุ์ให้รุ่นลูกรุ่นหลานอย่างไร?
-          ทำไมสิ่งมีชีวิตบางชนิดถึงอยู่รอดมาถึงปัจจุบัน ขณะที่บางชนิดสูญพันธุ์?
-          เทคโนโลยีชีวภาพที่มนุษย์คิดค้นขึ้น ส่งผลต่อมนุษย์ สัตว์ และธรรมชาติอย่างไร?
-          ความหลากหลายทางชีวภาพส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตต่างๆ และโลกอย่างไร?
-          วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตและการถ่ายทอดทางพันธุกรรมส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตอย่างไรบ้าง?
-          ทำไมปัจจัยแวดล้อมต่างๆจึงส่งผลต่อการถ่ายทอดลักษณะบางสิ่งจากรุ่นสู่รุ่น?

วันพุธ
ชง:
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “นักเรียนจะสืบค้นข้อมูลแล้วจัดกระทำให้อยู่ในรูปแบบที่ตนเองเข้าใจได้อย่างไร?
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกัน
เชื่อม: นักเรียนแต่ละคู่สืบค้นข้อมูลพร้อมทั้งจัดกระทำข้อมูลในรูปแบบของตนเอง
วันพฤหัสบดี
ชง:
- ครูกระตุ้นด้วยคำถาม “ต้นไม้เป็นสิ่งมีชีวิตหรือไม่ อย่างไร?
- ครูและนักเรียนอภิปรายร่วมกันจากคำถาม
เชื่อม:
- นักเรียนแต่ละคู่นำเสนอชิ้นงานพร้อมทั้งอภิปรายแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
วันศุกร์
ชง: ครูใช้คำถามกระตุ้นคิด
- นักเรียนได้เรียนรู้อะไรในสัปดาห์นี้ ความรู้ใหม่ที่ได้คืออะไร?
- นักเรียนเจอปัญหาอะไรและมีวิธีการแก้ปัญหาอย่างไร?
เชื่อม:
- นักเรียนอภิปรายร่วมกันถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
- นักเรียนสรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์

ภาระงาน
- การอภิปรายร่วมกันจากคลิป VDO ที่ได้ดู
- การศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากชุดคำถามเพื่อจัดทำสื่อการเรียนรู้
- การแลกเปลี่ยนสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ตลอดทั้งสัปดาห์
ชิ้นงาน
- สื่อการเรียนรู้ในรูปแบบต่างๆ
- สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์
ความรู้
เข้าใจหน่วยพื้นฐานของสิ่งมีชีวิต ความสัมพันธ์ของโครงสร้าง และหน้าที่ของระบบต่างๆ ของสิ่งมีชีวิตที่ทำงานสัมพันธ์กัน มีกระบวนการสืบเสาะหาความรู้  
สื่อสารสิ่งที่เรียนรู้และนำความรู้ไปใช้ในการดำรงชีวิตของตนเองและดูแลสิ่งมีชีวิต
ทักษะ:
ทักษะการจัดการข้อมูล
- มีการจัดกลุ่มความรู้ ข้อมูล ข่าวสาร   ที่ได้จากการสืบค้น จำแนกเป็นประเด็นความรู้เดิม กับประเด็นที่เป็นความรู้ใหม่ หรือนำเสนอประเด็นที่เป็นสาระสำคัญได้อย่างสอดคล้องน่าเชื่อถือ
ทักษะชีวิต
- มีเป้าหมายและสามารถกำหนดเป้าหมายในการทำงานได้
- ทำงานอย่างมีเป้าหมายและวางแผนในการทำงาน
ทักษะการอยู่ร่วมกัน
มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเรียนรู้ร่วมกับกลุ่มอื่นได้
ทักษะการสื่อสาร
- มีความถูกต้องชัดเจนในการสื่อความหมายทั้งการพูด การเขียน และการแสดงออก
- เข้าใจและสามารถสรุปความรู้ คุณค่า ทัศนคติ จากสิ่งที่ได้ฟัง สิ่งที่ได้เรียนรู้และนำไปใช้ได้
ทักษะ ICT
- เลือกใช้ และสืบค้นข้อมูลได้ตามวัตถุประสงค์
- วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล ได้อย่างมีวิจารณญาณและรู้เท่าทัน
- ประยุกต์ใช้ทักษะ ICT เพื่อสร้างสรรค์ชิ้นงานได้
คุณลักษณะ
- สร้างสรรค์และนำเสนอสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ผ่านการนำเสนอวิธีคิด
 -  มีวินัยและความรับผิดชอบต่อสิ่งที่ได้รับมอบหมาย
- มีความมุ่งมั่นในการทำงาน
- การเคารพและยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น 


ตัวอย่างกิจกรรม













ตัวอย่างชิ้นงาน
























สรุปการเรียนรู้รายสัปดาห์















1 ความคิดเห็น:

  1. สัปดาห์นี้เป็นเนื้อหาเรื่อง “สารและสมบัติของสาร” เนื้อหานี้พี่ได้เรียนมาบางส่วนแล้วในหน่วย:Transformer ทำให้มีความมั่นใจอยู่เล็กน้อยในการตอบคำถามครูใหญ่ พี่ๆได้แบ่งกันศึกษาข้อมูลจากแหล่งต่างๆห้องสมุดบ้าง อินเทอร์เน็ตบ้างและตามแหล่งข้อมูลต่างๆ พี่ได้นำเสนอข้อมูลเรื่องของคุณสมบัติและสถานะของสาร ว่าสารมีสามสถานะแต่ครูใหญ่ได้อธิบายเพิ่มว่าแท้จริงแล้วสารไม่ได้มีแค่สามสถานะเท่า แต่มีถึง 15 สถานะได้แก่ ของแข็ง (SOLID), ของแข็งอสัณฐาน (AMORPHOUS SOLID),ของเหลว (FLUID), ก๊าซ (GAS), พลาสมา (PLASMA), ของไหลยิ่งยวด (SUPERFLUID), ของแข็งยิ่งยวด (SUPERSOLID), สสารเสื่อม (DEGENERATE MATTER), นิวโตรเนียม (NUTRONIUM), สสารสมมาตรเข้ม (STRONGLY SYMMETRIC MATTER), สสารสมมาตรอ่อน (WEAKLY SYMMETRIC MATTER), ควาร์ก-กลูออน พลาสมา (QUARK-GLUON PLASMA), สสารควบแน่นเฟอร์มิโอนิค (FERMIONIC CONDENSATE), สสารควบแน่นโบส-ไอน์สไตน์ (BOSE-EINSTEIN CONDENSATE), สสารประหลาด (STRANGE MATTER) ทำให้ทั้งพี่ๆและคุณครุได้รับความรุ้เพิ่มเติมเป็นอย่างดี
    นอกเหนือจากเรื่องสารและสมบัติของสารแล้วในสัปดาห์นี้พี่ๆยังได้เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องแรงและการเคลื่อนที่อีกด้วย ครูใหญ่ๆได้อธิบายเรื่องการบิดเบี้ยวของจักรวานว่าเป็นไปตามกฎของนิวตันอย่างไร จากนั้นจึงได้ทบทวนกฎทั้งสามข้องของนิวตันว่า ว่าด้วยเรื่องอะไรบ้างอย่างไร
    อีกหนึ่งเรื่องที่เรียนในสัปดาห์นี้คือเรื่องงานและพลังงานพี่ๆได้รับโจทย์จากครุดอกไม้คนละหนึ่งโจทย์ เพื่อศึกษาและทำความเข้าใจแล้วจึงมานำเสนอแลกเปลี่ยนกันบรรยากาศเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะและความสนุกสนาน ช่วงพักเที่ยงพี่เอมมี่ถือสมุดไปหาครูที่โต๊ะกินข้าวว่า “ครูคะตอนเพื่อนอธิบายหนูฟังไม่ทันบางส่วน ครูช่วยเพิ่มเติมให้หน่อยคะ “ พี่ฟ้ากัลป์อยู่ใกล้ๆได้ยินพอดีจึงขออธิบายให้เพื่อเอง ครูดอกไม้รู้สึกประทับใจทั้งสองคนมาก อีกคนมีความตั้งใจที่จะเรียนรู้อีกคนมีความปารถนาดีต่อเพื่อน




    ตอบลบ